ชวนรู้จักตัวยาสำคัญที่มีอยู่ในยาแก้ไอเด็ก ตัวยาอะไรออกฤทธิ์แบบไหนบ้าง


ยาแก้ไอเด็ก

            เคยสงสัยไหมว่า ในยาแก้ไอเด็กที่คุณซื้อให้ลูกกินนั้น ประกอบไปด้วยตัวยาอะไรบ้าง และยาแต่ละตัวออกฤทธิ์อย่างไร ทำไมถึงทำให้ลูกหยุดไอได้…

            ถ้าคุณกำลังสงสัยเรื่องนี้อยู่ บทความนี้มีคำตอบ

รู้จักอาการไอในเด็กก่อนเลือกใช้ยาแก้ไอเด็ก

            อาการไอในเด็ก เป็นกลไกการตอบสนองของร่างกายต่อสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เช่น เชื้อโรค เสมหะ ฝุ่น ฯลฯ ที่เข้ามาในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และไม่ใช่เรื่องที่อันตรายอะไรนัก

            แต่ถ้าไอเยอะ ไอบ่อย และยิ่งเป็นอาการไอแบบมีเสมหะ ก็อาจทำให้เด็กหงุดหงิด รำคาญใจ ใช้ชีวิตประจำวันลำบากขึ้น และอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บเรื้อรังอื่นๆ ตามมาได้ ดังนั้นทางออกที่พ่อแม่จะช่วยให้ลูกดีขึ้นได้ คือการใช้ยาแก้ไอเด็ก

            โดยยาแก้ไอเด็กในปัจจุบันมีให้เลือกซื้อได้มากมายหลายยี่ห้อ และประกอบด้วยตัวยาสำคัญที่ต่างกันไป เช่น

ตัวยาแก้ไอเด็ก: Guaifenesin

            ไกวเฟนิซิน เป็นตัวยาขับเสมหะที่เกิดจากโรคหวัด หลอดลมอักเสบ และภูมิแพ้ ทำให้เด็กหายใจได้สะดวกขึ้น โดยกลไกการออกฤทธิ์ของยาแก้ไอเด็กชนิดนี้คือ จะช่วยเพิ่มสารคัดหลั่งในทางเดินหายใจ ลดความหนืดของเสมหะ และทำให้เสมหะถูกขับออกมาได้ง่ายขึ้น

ตัวยาแก้ไอเด็ก: Dextromethorphan

            เดกซ์โทรเมทอร์แฟน เป็นตัวยาที่ออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนกลาง เพื่อช่วยระงับอาการไอที่เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ทำให้เด็กสามารถหยุดไอได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่เพื่อความปลอดภัย ควรใช้ยาแก้ไอเด็กชนิดนี้ในเด็กอายุ 4 ปีขึ้นไปเท่านั้น

ตัวยาแก้ไอเด็ก: Codeine

            โคเดอีน เป็นอีกหนึ่งตัวยา ที่ใช้ระงับอาการไอได้ โดยจะจับกับตัวรับโอปิออยด์ในระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เด็กหยุดไอ แต่เมื่อทานยาแล้ว อาจทำให้มีอาการง่วงซึมตามมาได้

ตัวยาแก้ไอเด็ก: Carbocysteine

            คาร์โบซิสเทอีน เป็นตัวยาที่มีฤทธิ์ช่วยละลายเสมหะ ซึ่งตัวยาแก้ไอเด็กชนิดนี้จะช่วยให้เสมหะไม่เหนียวข้น และถูกขับออกมาง่ายขึ้น เด็กจะไม่ระคายคอ และไม่มีอาการไอเพื่อขับสิ่งแปลกปลอมออกจากทางเดินหายใจอีกต่อไป

            อย่างไรก็ตาม ตัวยาแก้ไอเด็กที่วางขายอยู่ทั่วไปนั้นมีมากกว่านี้ แต่เรื่องที่พ่อแม่ควรรู้ คือ เมื่อเด็กเกิดอาการไอแบบมีเสมหะ ไม่ว่าจะมาจากสาเหตุการเป็นไข้หวัด ไซนัสอักเสบ คออักเสบ หรือหลอดลมอักเสบ การเลือกใช้ตัวยาที่มีฤทธิ์ละลายเสหะอย่าง Carbocysteine เช่น ยาแก้ไอเด็กอามีคอฟ (Amicof) จะเป็นทางออกดีที่สุด เพราะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุอย่างแท้จริง ทำให้เด็กไม่มีสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ และไม่มีอาการไออีก

            ส่วนตัวยาแก้ไอเด็กแบบขับเสมหะนั้น อาจทำให้เด็กระคายคอมากขึ้นได้ เพราะฤทธิ์ที่ช่วยขับออก ไม่ใช่การช่วยละลาย ขณะที่ตัวยาที่มีฤทธิ์ระงับอาการไอ อาจช่วยให้เด็กหยุดไอเพียงได้ชั่วคราว เหมาะกับอาการไอแห้ง (ไม่มีเสมหะ) มากกว่า และมักจะมีผลข้างเคียงมากกว่ายาประเภทอื่น เพราะมีปฏิกิริยาโดยตรงต่อสมองและไขสันหลัง

            แต่สุดท้ายแล้ว ไม่ว่าพ่อแม่จะเลือกซื้อตัวยาแก้ไอเด็กแบบไหนให้กับลูก ก็อย่าลืมว่า ถ้าอาการไอของลูกไม่ดีขึ้นภายใน 5-7 วัน ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ เพื่อหาทางรักษาที่เหมาะสมต่อไป